ในแต่ละจังหวัดมักจะมีปราสาทประจำเมืองที่เป็นที่พักอาศัยของโชกุนสมัยก่อนของญี่ปุ่นอยู่เสมอๆ เพื่อนหลายคนอาจจะเคยไปเที่ยวปราสาทมาแล้วหลายที่มีใครที่ทราบไหมคะว่าที่เกียวโตเองก็มีปราสาทนิโจให้ชมกันแบบจุใจเช่นกัน
ปราสาทนิโจจะตั้งอยู่ตอนกลางของเกียวโตถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำด้วยกลยุทธทางการรบ(ให้จินตนาการเหมือนแผนที่เมืองอยุธยาสมัยก่อนย่อส่วน) ภายในปราสาทก็จะมีทั้งป้อมปราการ บ้านพักของทหารเฝ้ายามกระจายตามจุดต่างๆ อาคารที่พักของโชกุนและหอประชุมประมาณนี้ค่ะ โดยปราสาทนิโจได้ผ่านช่วงเวลาสำคัญของญี่ปุ่นมาด้วยค่ะ โดยในสมัยนั้นจักรพรรดิมีอำนาจน้อยลงทันใดนั้นโชกุนได้มีการประกาศคืนอำนาจการบริหารบ้านเมืองให้จักรพรรดิในปราสาทนิโจนี้ค่ะ
ค่าเข้าชมท่านละ 600เยน
การซื้อตั๋วค่าเข้าชมที่แราสาทนิโจโอคซังแอบตกใจเล็กๆว่าตอนนี้มีเครื่องกดตั๋วอัตโนมัติรวดเร็วอยู่ด้วยค่ะ โดยที่ข้างๆประตูทางเข้าจะเห็นเหมือนอาคารไม้หลังเล็กๆเป็นที่ขายตั๋วค่ะ ตรงอาคารนี้คนจะยืนมุงกันอยู่เยอะมากค่ะ โดยตรงที่ขายตั๋วจะแยกเป็นจุดที่ซื้อกับพนักงานหรือจะซื้อที่เครื่องก็ได้ค่ะ
วิธีการซื้อที่เครื่องให้เรานำเงินสอดเข้าช่องใส่เงินก่อนค่ะ ที่ตู้จะรับแบงค์1000เยน และเหรียญ500 100 เยนค่ะ
จากนั้นทำการเลือกราคาผู้ใหญ่600เยน/เด็กประถมลงไป 200เยน /นักเรียนนักศึกษา350เยน แล้วเลือกจำนวนตั๋วที่ต้องการด้านบน
กดตกลงแล้วเครื่องจะทอนเงินมาให้เราพร้อมๆกับตั๋วเข้าชมค่ะ
เข้าไปชมด้านในปราสาทนิโจกันเลย!
ปราสาทนิโจถูกขึ้นทะเบียนมรดกโลก(World heritage)ด้านวัฒนธรรมของเกียวโตโดยองกรณ์UNESCO โดยปราสาทนิโจแห่งนี้ถูกสร้างโดยโชกุนตระกูลTogukawa(โด่งดังและมีอำนาจสืบมาจนทุกวันนี้)ตั้งแต่ปี1603(400ปีนิดๆแล้วนะคะ) ในสมัยนั้นท่านโชกุนใช้เป็นที่พักและที่ประชุมงานค่ะ
ถ้าเราสังเกตจากในแผนที่เกียวโตดีๆนะคะ ปราสาทนิโจจะถูกสร้างตั้งอยู่ใกล้ๆกับ Imperial Palaceค่ะ โดยท่านโชกุนให้เหตุผลว่าเพื่อไปมาหาสู่กับจักรพรรดิสะดวกหากเกิดอะไรขึ้นจะได้ป้องกันช่วยเหลือได้ทันเวลา
ด้านหน้าปราสาทมีจุดจอดรถทัวร์และจุดจอกรถแท็กซี่เห็นได้ง่ายใช้งานสะดวกค่ะ
เมื่อเข้ามาแล้วเราจะเห็นแผ่นโปรชัวร์บรรยายส่วนต่างๆของปราสาทนิโจมีหลายภาษาค่ะแต่ไม่มีภาษาไทยค่ะ แอดมินคิดว่าในอนาคตไม่นานน่าจะมีภาษาไทยออกมานะคะ
ด้านในข้างๆประตูทางเข้านี้จะเป็นบ้านของผู้รักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า Bansho ไม่ต้องไปไหนไกลเฝ้าใกล้ๆประตูเลยค่ะ โดยเกือบทุกๆปราสาทของญี่ปุ่นถ้าหากว่าเห็นว่ามีบ้านหลังน้อยนี้อยู่ข้างๆทางเข้าด้านในสามารถคิดไว้ก่อนได้เลยค่ะว่าเป็นบ้านขององครักษณ์รักษาบ้าน
หอคอยเฝ้ายาม หอคอยนี้จะกระจายอยู่ตามมุม
โถงประชุมขุนนาง
เมื่อเดินเข้าไปด้านในเรื่อยๆเราจะเจอกับอาคารหลักสำคัญ Ninomaru ค่ะ ก่อนที่เราจะเข้าไปถึงตัวปราสาทจะต้องเดินผ่านประตูทางเข้าของขุนนาง Honmaru เข้าไปก่อนค่ะ
ประตูที่มีลักษณะโค้งแบบนี้ในสมัยก่อนจะมีแต่จักรพรรดิและชมชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถเดินผ่านได้ค่ะ ถ้าที่ไหนโดยเฉพาะวัดหรือแม้แต่ร้านอาหารที่มีอายุนานๆหลายร้อนปีได้มีการสร้างประตูลักษณะโค้งแบบนี้แสดงว่าที่นั่นในอดีตชนชั้นสูงเคยมีการเข้าออกเป็นประจำค่ะจะเห็นว่ามีลวดลายแกะสลักลายนูนของนกกระเรียนงามมากๆ โอคได้ไอเดียกลับไปแกะสลักประตูที่บ้านกันเลย
อาคารประขุมด้านในค่ะ ทางเข้าประตูทำเป็นลักษณะโค้งเหมือนประตูชั้นแรกเลยค่ะ
โอคชอบลายสลักของประตูชั้นในนี้มากกว่าค่ะะเห็นว่ามีการแกะสลักลายนูนนกกระสาไว้ด้านบนประตูอย่างปราณีตมากๆ ค่ะซึ่งต่างกับประตูด้านหน้านะคะที่เป็นลายนูนนกกระเรียน
ก่อนเข้าในอาคารให้เราถอดรองเท้าใส่ไว้ที่ชั้นได้เลยค่ะ แต่ถ้าใครที่กลัวรองเท้าจะหายสามารถรับถุงด้านหน้าประตูเพื่อใส่รองเท้าและเดินถือเข้าไปในอาคารค่ะ หลังจากนี้ก็ห้ามถ่ายภาพแล้วค่ะ โอคซังเดินชมอาคารหลักอันสวยงามนี้อยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงค่ะเพราะด้านในกว้าง
ชมสวนสวยงามยุคเมจิรอบๆอาคาร
สวนรอบๆอาคารหลักหลังนี้ออ
เหมือนเป็นดินแดนแห่งสายน้ำ
สำรวจไปเรื่อยๆก็เจอกับสะพา
ตอนที่เดินผ่านไประหว่างทางอาจจะเจออาคารเก่าๆหลังนี้อยู่ด้านหลังปราสาทไม่ต้องแปลกใจค่ะอาคารนี้เป็นอาคารที่ใช้เก็บข้าวสารและอาหารในสมัยก่อน เรียกง่ายๆคือยุ้งฉางนั่นเอง โอคอยากเข้าไปชมข้างในมากๆแต่ปิดไว้ซะมิดชิดเลย
ตรงนี้เป็นอีกหนึ่งสวนที่แทบไม่มีคนเดินเข้ามาชมเลยค่ะ โอคเข้าไปชมและถ่ายภาพแบบชิลๆเลยค่ะ
โอคซังชอบสวนนี้เพราะค่อนข้างร่มรื่นและเป็นส่วนตัวมาก
มองไปอีกมุมก็เจอกับใบไม้ร่วงตามฤดูกาลด้วยค่ะ
ก่อนที่เราจะเดินออกจากประตูจะเห็นว่ามีการตั้งเพิงขาย
สำหรับปราสาทนิโจแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่สวยงามสามารถเดินถ่ายรูปได้ทั่วเกือบทุกมุม สามารถเข้าชมได้ในทุกฤดูกาล โอคซังขอเตือนไว้ก่อนเลยค่ะหากว่าต้องการเข้าชมสถานที่แห่งนี้จริงๆเพื่อนๆอาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย2ชั่วโมงขึ้นไปแน่ๆค่ะ แต่ขอบอกว่าคุ้มค่าคุ้มราคาคุ้มเวลาสุดๆ ถ้าใครที่มีเวลาเกือบทั้งวันสามารถเข้านั่งพักที่ร้านอาหารของภายในปราสาทก็จะยิ่งได้อารมณ์สุนทรีไปอีกแบบด้วยค่ะ
แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้านะคะ
มาตะเน้
COMMENTS